วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ปุ๋ย หมายถึง สารหรือสิ่งซึ่งเราใส่ลงไปในดิน เพื่อวัตถุประสงค์ให้ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชโดยเฉพาะไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ที่พืชยังขาดอยู่ให้พืชได้รับอย่างเพียงพอ พืชสามารถเจริญเติบโตงอกงามดีและให้ผลิตผลสูงขึ้น

1. ธาตุไนโตรเจน (N)
เป็นองค์ประกอบของโปรตีน มีหน้าที่เสริมสร้างส่วนที่เจริญเติบโต ระบบการสืบพันธุ์ และระบบการหายใจของพืช มักพบตามใบอ่อน ปลายกิ่ง ช่อดอก และปลายราก มีคุณสมบัติพิเศษคือ สามารถเคลื่อนตัวจากส่วนที่แก่กว่าไปในส่วนที่อ่อนกว่าภายในพืชได้ เรียกว่า “mobile nutrient” เป็นธาตุที่พบว่าขาดอยู่บ่อยครั้งในดินที่ใช้ในการเพาะปลูก ธาตุไนโตรเจนช่วยส่งเสริมการดูดใช้ธาตุฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม กำมะถัน และแมกนีเซียม
ถ้าขาดธาตุไนโตรเจนพืชจะแสดงลักษณะลำต้นแคระแกรน ไม่เจริญเติบโต ใบอ่อนและยอดจะมีสีเขียวจาง ใบแก่จะมีสีเหลือง หรือสีน้ำตาลไหม้
ถ้าพืชดูดกินธาตุไนโตรเจนมากเกินไป จะแสดงลักษณะลำต้น ใบ สีเขียวเข้ม และใบมีขนาดใหญ่ พืชจะเก็บเกี่ยวได้ช้ากว่าปกติ ผลผลิตเมล็ดและเส้นใยต่ำ มักหักล้มง่ายจากส่วนโคนต้น มีการเฝือใบ ต้น และใบมักมีความอวบน้ำ ไม่ทนทานต่อโรคและแมลง


2. ธาตุฟอสฟอรัส (P)
ช่วยในการสังเคราะห์แสง สร้างแป้งและน้ำตาล เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ที่สำคัญหลายชนิด ช่วยเสริมสร้างส่วนที่เป็นดอก การผสมเกสร ตลอดจนการติดเมล็ด สร้างระบบรากให้แข็งแรง ช่วยในการแตกกอ และช่วยให้ลำต้นแข็งแรงไม่ล้มง่าย ช่วยให้พืชดูดใช้ธาตุไนโตรเจนและโมลิบดีนัมได้ดีขึ้น
ธาตุนี้มักพบในรูปที่พืชไม่สามารถดูดไปใช้ได้ เนื่องจากจะถูกตรึงอยู่ในดิน ส่วนใหญ่พืชจะแสดงอาการขาดธาตุนี้บ่อยครั้ง แม้ว่าในดินที่มีธาตุฟอสฟอรัสอยู่เป็นจำนวนมากก็ตาม
ถ้าขาดธาตุฟอสฟอรัสรากพืชจะไม่เจริญ มีรากฝอยน้อย ต้นเตี้ย ใบและต้นมีสีเข้มและบางครั้งมีสีม่วงหรือแดงเกิดขึ้น พืชแก่ช้ากว่าปกติ เช่น การผลิดอก ออกผลช้า มีการแตกกอน้อย การติดเมล็ดน้อย หรือบางครั้งไม่ติดเมล็ด


3. ธาตุโพแทสเซียม (K)
พบในเซลล์ของพืช เป็นองค์ประกอบในโครงสร้างที่สำคัญของเอนไซม์กว่า 30 ชนิด ทำให้เปลือกลำต้นแข็งแรง ไม่หักโค่นง่าย ช่วยในขบวนการสร้างแป้งและน้ำตาล ตลอดจนการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาลไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช ช่วยในการสังเคราะห์โปรตีน การแบ่งเซลล์ นอกจากนี้ยังช่วยให้พืชมีความต้านทานต่อโรคดีขึ้น
เป็นธาตุที่สามารถเคลื่อนย้ายจากส่วนหนึ่งไปยังอีกส่วนหนึ่งของพืชได้รวดเร็ว โดยเฉพาะในขณะที่พืชเริ่มสร้างดอกและเมล็ดโพแทสเซียมจะถูกดึงไปใช้ทันที ในรากพืชพวกธัญพืชธาตุนี้อาจไหลกลับไปสู่ดินได้โดยง่ายในขณะที่พืชแก่และเซลล์รากเริ่มเสื่อมการปฏิบัติงาน ธาตุนี้อาจถูกฝนชะล้างไปจากใบได้ในขณะฝนตก
ธาตุโพแทสเซียมในสารละลายของดินมักอยู่ในสมดุลกับส่วนที่ถูกดินยึดไว้ และส่วนที่อยู่ในแร่ที่มีอยู่ในดิน พืชอาจดูดกินได้ในปริมาณมากเกินต้องการโดยพืชไม่เป็นอันตราย และไม่ได้ใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น
ถ้าขาดธาตุโพแทสเซียมพืชจะเจริญเติบโตช้า ปลายใบไหม้ มีสีน้ำตาลและจะลามเข้าหาโคนใบตามขอบใบ ช่วงระหว่างปล้องจะสั้น พืชหักล้มได้ง่าย พืชที่ให้แป้งและน้ำตาลจะให้ผลผลิตลดลง พวกธัญพืชจะมีเมล็ดลีบ

โดยทั่วไปปุ๋ยแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์

1. ปุ๋ยอินทรีย์
ปุ๋ยพวกนี้ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และวัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิดซึ่งเป็นพวกอินทรียสาร

ปุ๋ยคอก
ที่สำคัญก็ได้แก่ ขี้หมู ขี้เป็ด ขี้ไก่ ฯลฯ เป็นปุ๋ยคอกที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ในบรรดาสวนผักและสวนผลไม้ ปุ๋ยคอกโดยทั่วไปแล้วถ้าคิดราคาต่อหน่วยธาตุอาหารพืชจะมีราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมี แต่ปุ๋ยคอกช่วยปรับปรุงดินให้โปร่งและร่วนซุย ทำให้การเตรียมดินง่าย การตั้งตัวของต้นกล้าเร็วทำให้มีโอกาสรอดได้มาก นาข้าวที่เป็นดินทราย เช่น ดินภาคอีสาน การใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์อื่น ๆ เท่าที่จะหาได้ในบริเวณใกล้เคียง จะช่วยให้การดำนาง่าย ข้าวตั้งตัวได้ดี และเจริญเติบโตงอกงามอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เนื่องจากดินทรายพวกนี้มีอินทรียวัตถุต่ำมาก การใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์ลงไปจะทำให้ดินอุ้มน้ำและปุ๋ยได้ดีขึ้น การปักดำกล้าทำได้ง่ายขึ้น เพราะ หลังทำเทือกแล้วดินจะไม่อัดกันแน่น



ปุ๋ยคอกมีปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมค่อนข้างต่ำ โดยหยาบ ๆ แล้วก็จะมีไนโตรเจนประมาณ 0.5% N ฟอสฟอรัส 0.25% P2O5 และโพแทสเซียม 0.5% K2O

ปุ๋ยขี้ไก่และขี้เป็ด จะมีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าขี้หมู และขี้หมูจะปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าขี้วัว และขี้ควาย ปุ๋ยคอกใหม่ ๆ จะมีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าปุ๋ยคอกที่เก่าและเก็บไว้นาน ทั้งนี้เนื่องจากส่วนของปุ๋ยที่ละลายได้ง่ายจะถูกชะล้างออกไปหมด บางส่วนก็กลายเป็นก๊าซสูญหายไปดังนั้นการเก็บรักษาปุ๋ยคอกอย่างระมัดระวังก่อนนำไปใช้ จะช่วยรักษาคุณค่าของปุ๋ยคอกไม่ให้เสื่อมคุณค่าอย่างรวดเร็ว

การเก็บรักษาปุ๋ยคอกอาจทำได้ เช่น นำมากองรวมกันเป็นรูปฝาชี แล้วอัดให้แน่ ถ้าอยู่ภายใต้หลังคาก็ยิ่งดี ถ้าอยู่กลางแจ้งควรหาจากหรือทางมะพร้าวคลุมไว้ด้วยก็จะดี ปุ๋ยคอกที่ได้มาใหม่ ๆ และยังสดอยู่ถ้าจะใส่ปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตชนิดธรรมดา (20% P O ) ลงไปด้วยสักเล็กน้อยก็จะช่วยป้องกันไม่ให้มีการสูญเสียไนโตรเจนโดยการระเหิดกลายเป็นก๊าซได้เป็นอย่างดี ถ้าเลี้ยงสัตว์อยู่ในคอกควรใช้แกลบ ขี้เลื่อยหรือฟางข้าวรองพื้นคอกให้ดูดซับปุ๋ยไว้ เมื่อฟางข้าวอิ่มตัวด้วยปุ๋ยก็รองเพิ่มเป็นชั้น ๆ เมื่อสะสมไว้มากพอก็ลอกเอาไปกองเก็บไว้ อัตราปุ๋ยคอกที่ใช้นั้นไม่เคร่งครัดเหมือนกับปุ๋ยเคมี ปกติแนะนำให้ใส่อัตรา 1-4 ตันต่อไร่ โดยใส่ค่อนข้างมากในดินเหนียวจัดหรือดินทรายจัด หลังจากใส่ปุ๋ยคอกแล้วถ้ามีการไถหรือพรวนดินกลบลงไปในดิน ก็จะช่วยให้ปุ๋ยเป็นประโยชน์แก่พืชได้เร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ปุ๋ยหมัก
ปุ๋ยพวกนี้ก็ได้แก่ปุ๋ยที่เราได้จากการหมักเศษพืช เช่น หญ้าแห้ง ใบไม้ ฟางข้าว ฯลฯ ให้เน่าเปื่อยเสียก่อน จึงนำไปใส่ในดินเป็นปุ๋ย ปุ๋ยเทศบาลที่บรรจุถุงขายในชื่อของปุ๋ยอินทรีย์เบอร์ต่าง ๆ นั้น ก็คือปุ๋ยหมัก ได้จากการนำขยะจากในเมือง พวกเศษพืช เศษอาหารเข้าโรงหมักเป็นขั้นเป็นตอนจนกลายเป็นปุ๋ย ปุ๋ยหมักสามารถทำเองได้โดยการกองสุมเศษพืชสูงขึ้นจากพื้นดิน 30-40 ซม. แล้วโรยปุ๋ยคอกผสมปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ 15-15-15 ประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม ต่อเศษพืชหนัก 1,000 กิโลกรัม เสร็จแล้วก็กองเศษพืชซ้อนทับลงไปอีกแล้วโรยปุ๋ยคอกผสมปุ๋ยเคมี ทำเช่นนี้เรื่อยไปเป็นชั้น ๆ จนสูงประมาณ 1.5 เมตร ควรมีการรดน้ำแต่ละชั้นเพื่อให้มีความชุ่มชื้น และเป็นการทำให้มีการเน่าเปื่อยได้เร็วขึ้น


กองปุ๋ยหมักนี้ทิ้งไว้ 3-4 สัปดาห์ ก็ทำการกลับกองปุ๋ยครั้งหนึ่ง ถ้ากองปุ๋ยแห้งเกินไปก็รดน้ำ ทำเช่นนี้ 3-4 ครั้ง เศษพืชก็จะเน่าเปื่อยเป็นอย่างดีและมีสภาพเป็นปุ๋ยหมัก นำไปใช้ใส่ดินเป็นปุ๋ยให้กับพืชที่ปลูกได้ เศษหญ้าและใบไม้ต่าง ๆ ถ้าเก็บรวบรวมกองสุมไว้แล้วทำเป็นปุ๋ยหมัก จะดีกว่าเผาทิ้งไป ปุ๋ยหมักจะช่วยปรับปรุงดินให้มีคุณสมบัติทางฟิสิกส์ดีขึ้นและปลูกพืชเจริญงอกงามดีเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะพืชผักสวนครัว และไม้ดอกไม้ประดับ

ปุ๋ยพืชสด
เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการปลูกพืชบำรุงดินซึ่งได้แก่ พืชตระกูลถั่วต่าง ๆ แล้วทำการไถกลบเมื่อพืชเจริญเติบโตมากที่สุด ซึ่งเป็นช่วงที่กำลังออกดอก พืชตระกูลถั่วที่ควรใช้เป็นปุ๋ยพืชสดควรมีอายุสั้น มีระบบรากลึก ทนแล้ง ทนโรคและแมลงได้ดี เป็นพืชที่ปลูกง่าย และมีเมล็ดมาก ตัวอย่างพืชเหล่านี้ก็ได้แก่ ถั่วพุ่ม ถั่วเขียว ถั่วลาย ปอเทือง ถั่วขอ ถั่วแปบ และโสน เป็นต้น



2. ปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์
ปุ๋ยพวกนี้เป็นปุ๋ยที่ได้มาจากการผลิตหรือสังเคราะห์ทางอุตสาหกรรมจากแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ได้ตามธรรมชาติ หรือเป็นผลพลอยได้ของโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิด ปุ๋ยเคมีมีอยู่ 2 ประเภท คือ แม่ปุ๋ย หรือปุ๋ยเดี่ยวพวกหนึ่ง และปุ๋ยผสมอีกพวกหนึ่ง



ปุ๋ยเดี่ยวหรือแม่ปุ๋ย
ได้แก่ ปุ๋ยพวกแอมโมเนียมซัลเฟต โพแทสเซียมคลอไรด์ ฯลฯ ซึ่งเป็นสารประกอบทางเคมี มีธาตุอาหารปุ๋ยคือ N หรือ P หรือ K เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยหนึ่งหรือสองธาตุ แล้วแต่ชนิดของสารประกอบที่เป็นแม่ปุ๋ยนั้น ๆ มีปริมาณของธาตุอาหารปุ๋ยที่คงที่ เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต มีไนโตรเจน 20% N ส่วนโพแทสเซียมไนเทรต มีไนโตรเจน 13% N และโพแทสเซียม 46% K2O อยู่ร่วมกันสองธาตุ



ปุ๋ยผสม

ได้แก่ ปุ๋ยที่มีการนำเอาแม่ปุ๋ยหลาย ๆ ชนิดมาผสมรวมกัน เพื่อให้ปุ๋ยที่ผสมได้ มีปริมาณและสัดส่วนของธาตุอาหาร N P และ K ตามที่ต้องการ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ปุ๋ยที่มีสูตรหรือเกรดปุ๋ยเหมาะที่จะใช้กับชนิดพืชและดินที่แตกต่างกัน ปุ๋ยผสมนี้จะมีขายอยู่ในท้องตลาดทั่วไปเพราะนิยมใช้กันมาก ปัจจุบันเทคโนโลยีในการทำปุ๋ยผสมได้พัฒนาไปไกลมาก สามารถผลิตปุ๋ยผสมให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ มีการปั้นเป็นเม็ดขนาดสม่ำเสมอสะดวกในการใส่ลงไปในไร่นา ปุ๋ยพวกนี้เก็บไว้นาน ๆ จะไม่จับกันเป็นก้อนแข็ง สะดวกแก่การใช้เป็นอย่างยิ่ง


ปุ๋ยผสมประเภทนี้รู้จักและเรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า ปุ๋ยคอมปาวด์ ส่วนการนำแม่ปุ๋ยมาผสมกันเฉย ๆ เพียงให้ได้สูตรตามที่ต้องการ หรืออาจมีการบดให้ละเอียดจนเข้ากันดียังคงเรียกว่าปุ๋ยผสมอยู่ตามเดิม ปัจจุบันมีการนำเอาแม่ปุ๋ยที่มีการปั้นเม็ดหรือมีเม็ดขนาดใกล้เคียงกันมาผสมกันให้ได้สูตรปุ๋ยตามที่ต้องการ แล้วนำไปใช้โดยตรงเรียกปุ๋ยชนิดนี้ว่า ปุ๋ยผสมคลุกเคล้า (bulk blending)


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ที่มา : รวบรวมจาก สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่มที่ 18

ปุ๋ยยูเรีย

ปุ๋ยยูเรีย [CO(NH2)2]
ปุ๋ยยูเรียมีลักษณะเป็นเม็ดกลมสีขาว ละลายน้ำได้ดีมาก มีไนโตรเจนสูงรองจากแอมโมเนีย ดูดความชื้นในอากาศได้มาก ดังนั้นถ้าทิ้งไว้ในอากาศปุ๋ยจะเปียกชื้นเร็ว ปุ๋ยยูเรียมีสารพิษ biuret ผสมอยู่ด้วย ซึ่งเกิดขึ้นจากกรรมวิธีในการผลิต ดังนั้น จึงควรระวังเมื่อมีการใช้ในอัตราสูง ปุ๋ยนี้มีไนโตรเจนทั้งหมดอยู่ 44-46 %
ปุ๋ยยูเรียสามารถใช้ผสมกับปุ๋ยอื่น ๆ ได้ เช่น พวกเกลือโพแทช ปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตที่มีปฏิกิริยาเป็นกลาง แอมโมเนียมซัลเฟต ฯลฯ
ปุ๋ยยูเรียสามารถให้ทางดินหรือทางใบก็ได้ ปุ๋ยนี้เหมาะที่จะให้กับพืชในขณะที่พืชต้องการ เนื่องจากพืชจะดูดไปใช้ได้ทันทีถ้าให้ทางใบหรือทางดินโดยการคลุกเคล้าปุ๋ยให้ดี ปุ๋ยนี้จะถูกเปลี่ยนไปอยู่ในรูปของแอมโมเนียม หรือไนเตรททันทีที่สัมผัสกับความชื้นในดิน ทำให้พืชสามารถดูดปุ๋ยไปใช้ในเวลารวดเร็ว
ปุ๋ยยูเรียอาจสูญเสียไปจากหน้าดินได้ถ้าดินเป็นดินด่าง ดังนั้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นควรใส่ในดินเป็นกลาง หรือกรดอ่อน ความชื้นพอเหมาะ และคลุกเคล้ากับดินให้ดี แต่ไม่ควรให้น้ำมากเกินไป พยายามหลีกเลี่ยงการใส่ในดินที่ว่างเปล่า หรือไม่มีพืชปกคลุม โดยปกติแล้วปุ๋ยยูเรียทำให้ดินมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น เมื่อมีการสลายตัวและเปลี่ยนรูปเป็นไนเตรทแล้ว


สูตรปุ๋ยยูเรีย

สูตร 46-0-0 เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของต้นพืชที่ปลูกใหม่และเร่งลูกเร่งผลให้โตเร็ว




ปุ๋ยชีวภาพ

คือ ปุ๋ยที่ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ซึ่งมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น(จุลินทรีย์)ที่ทำประโยชน์ให้แก่ดินและพืช ซึ่งสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ เหล่านี้จะเป็นตัวการทำให้พืชได้รับธาตุอาหารหรือสิ่งที่เป็นประโยชน์ ทำให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดี ปุ๋ยชีวภาพที่แนะนำให้เกษตรกรทำนี้ เป็นปุ๋ยชีวภาพที่สามารถทำได้เองโดยไม่ต้องซื้อ ใช้วัสดุที่มีอยู่ในพื้นที่ซึ่งเป็นเทคนิคการใช้จุลินทรีย์ของสมาคมเกษตรธรรมชาติแห่งประเทศเกาหลี ซึ่งนายคิว ฮานโซ นายกสมาคมเกษตรธรรมชาติแห่งประเทศเกาหลีพัฒนาขึ้นมาจากประสบการณ์ส่วนตัว เมื่อประมาณ 40 ปีที่แล้ว และได้นำมาเผยแพร่ในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2540 เป็นการนำจุลินทรีย์ในพื้นที่ (ไอเอ็มโอ : I.M.O.) มาเพาะเลี้ยงให้แข็งแรง และเพิ่มจำนวนมากขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีแบบง่ายๆ ปุ๋ยชีวภาพมี 2 ประเภท คือ ปุ๋ยน้ำ(น้ำหมักชีวภาพ) และปุ๋ยแห้ง(ปุ๋ยหมักชีวภาพ) ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยน้ำ (น้ำหมักชีวภาพ) คือ การนำเอาพืช ผัก ผลไม้ สัตว์ชนิดต่าง ๆ มาหมักกับน้ำตาลทำให้เกิดจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์จำนวนมากซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะไปช่วยสลายธาตุอาหารต่าง ๆ ที่อยู่ในพืช มีคุณค่าในแง่ของธาตุอาหารพืชเมื่อถูกย่อยสลายโดยกระบวนการย่อยสลายของแบคทีเรียหรือจุลินทรีย์สารต่างๆจะถูกปลดปล่อยออกมา เช่นโปรตี น กรดอะมิโน กรดอินทรีย์ ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง จุลธาตุ ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต เอนไซม์ วิตามิน ซึ่งพืชสามารถนำไปใช้ในการเจริญเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ น้ำหมักชีวภาพ มี 3 ประเภท คือ 1. น้ำหมักชีวภาพจากพืชสดสีเขียว (น้ำแม่) 2 . น้ำหมักชีวภาพจากผลไม้สุก (น้ำพ่อ) 3. สารขับไล่แมลง (น้ำหมักจากพืชสมุนไพร)




การใส่ปุ๋ย ไม้ดอก ไม้ประดับ

ปุ๋ยสูตรเสมอ 14-14-14 หรือ 16-16-16 หรือ 21-21-21

ใส่ไม้ดอกไม้ประดับทุกชนิด ที่ต้องการให้ ใบ ลำต้น ดอก สวย โดยทั่วไปไม่เน้นตัวใดตัวหนึ่ง

ตัวอย่างต้นไม้ที่ใส่ปุ๋ยสูตรนี้

เดหลี

กวนอิมเงิน

คล้าการเวก
กาหลง
กระดังงา
กระดาษเขียว
กระดาษด่าง
กระบองเพชร,แคกตัส
กุหลาบ
กุหลาบหิน
แก้ว
แก้วหน้าม้า
โกศลกาบใบส้ม
โกศลจิตลดา
โกศลช้างกินเลี้ยง
โกศลตะเพียนทอง
โกศลยองแบ
โกศลเล็บครุฑ
โกศลหางกระเบน
ขิงแดง
เข็มอินเดีย
เข็มชัชวาลย์
เข็มหอม(ขาว)
เข็มสีแดง
เข็มสีเหลือง
เข็มญี่ปุ่น
เข็มเวียดนาม
เข็มสีชมภู
เข็มสามสี
เข็มกุดั่น
ไข่มุกอันดามัน
คฑาเงิน
คู่บารมี
คู่บัลลังก์
เงินเต็มบ้าน
เงินไหลมา
เงาะถอดรูป
เหงือกปลาหมอ
จันทน์ผา
จัสมิน
จำปา
จำปี
จั๋ง
ชมนาด
ชมพูเพชรัตน์
ชบาไทย
ชบาญี่ปุ่น
ชาฮกเกี้ยน
ช้องนาง
ซิก้า
หญ้าหนวดแมว
ดาหลา
ดาหลาป่า
เดปกระเป๋า
เดปเขียว
เดปด่าง
เดปโฮย่า
เดหลี
เดหลีกวักทรัพย์
เดหลีกวักมงคล
เดหลีจักรพรรดิ์
เดหลีใบกล้วย
เดหลีใบมัน
ถุงเงินถุงทอง
ทองเต็มบ้าน
ทับทิม
ทอปปิกสโนว์
ทองอุไร
ทางช้างเผือก
ธรรมรักษา
นากชมพู
นาคราช
นางกวัก
นางคุ้ม
นางพญา
หนวดปลาดุกแคระ
บัลลังก์เงิน
บารมีรัตนโกสินทร์
บลูฮาวาย
บอนสี
บอนห่อเงิน
บอลลูน
บัว
บัวดิน
บัวสวรรค์
เบล
ใบเงิน
ใบทอง
ใบนาก
เบิร์ดออฟพาราไดส์
ปาล์ม
ปาล์มสิบสองปันนา
ปาล์มชวา
ปาล์มพัดจีบ
เปปเปอร์โรเมีย
แปะตำปึง
ผกากรอง
ไผ่กวนอิมทอง
ไผ่ฟิลิปปินส์
พุดพิชญา
พุดกุหลาบ
พุดซ้อน
พุดเศรษฐีสยาม
พุดน้ำบุด
พุดสามสี
พลูฉีก
พลูฉลุ
พลูด่าง
พลูราชินีสีทอง
พลูปีกนก
พวงคราม
พวงเงิน,มังกรคาบแก้ว
พญาเสวต
พุทธรักษา
เพชรน้ำหนึ่ง
เพชรตาแมว
โพธิ์บัลลังก์
โพธิ์มงคล
ฟอร์เก็ตมีน๊อต
พัดนางชี
ฟิโลใบมะละกอ
เฟิร์น
เฟิร์นข้าหลวง
เฟิร์นไพลิน
เฟิร์นบอสตัส
เฟิร์นใบมะขาม
เฟิร์นสีทอง
เฟิร์นฮาวาย
ฟ้าประทาน
มหานิยม
มหาลาภ
มหากาฬ
มังกรคาบแก้ว
ม้าลาย
มะขามเทศด่าง
มะยมแดง
มะยมเงิน
มะยมทอง
มะลิซ้อน
มะลิลา
มะลิน้ำ
โมก
โมกแคระ
โมกด่าง
โมกซ้อน
โมกพวง
โมกเวียดนาม
หมากผู้หมากเมีย
หม้อข้าวหม้อแกงลิง
หยกมหาโชค
หยกมหาลาภ
เยอบีร่า
รัศมีเงิน
รัศมีทอง
รัศมีนาก
ราตรี
ราชินีสีทอง
ริบบิ้น
ริบบิ้นบอร์เนียว
เลดี้พิงค์
ลิปสติก
ลิ้นมังกร
วาสนา
เวอบีนา
แววมยุรา
สังกรณี
สนฉัตร
สนมังกร
สนบลู
สนบอมม์
สามกษัตริย์
สาวน้อยประแป้ง
ทอปปิกส์สโน
แสงอาทิตย์
เสริมบารมี
เสน่ห์จันทร์แดง
เสน่ห์จันทร์เขียว
เสน่ห์จันทร์ดำ
เสน่ห์จันทร์นาก
สตาร์ไลท์
ศรีตรัง
เศรษฐีก้านทอง
เศรษฐีเรือนใน
เศรษฐีเรือนนอก
เศรษฐีพัทยา
เศรษฐีพันล้าน
เศรษฐีหมื่นล้าน
เศรษฐีมีทรัพย์
เศรษฐีไซ่ง่อน
หัวใจล้านดวง
หางหงษ์
อุดมทรัพย์
ออมเงิน
ออมพลอย
ออมเพชร
ออมทอง
อเมซอน
อากาเหว่
อินทนิล
เอื้องแดง
เอื้องพัดโบก
เอื้องหมายนา
เอื้องผึ้ง
เอื้องทอง
ไอยเรศ
ฮกหลง
เฮลิโคเนีย
แฮปปี้เนส
สโนว์ดรอป




วิธีการใส่ปุ๋ย


ก. การใส่แบบหว่าน (Broadcast)
เป็นวิธีการใส่ปุ๋ยก่อนที่จะปลูกพืช ความสำคัญอยู่ที่การหว่านให้ทั่วแปลงอย่างสม่ำเสมอ ควรหว่านก่อนการไถดินเพื่อให้ปุ๋ยได้อยู่ลึกลงไปในดินในระดับบริเวณรากพืช หรืออาจจะหว่านปุ๋ยแล้วตามด้วยการพรวนดิน สำหรับแปลงปลูกธัญพืชเมล็ดเล็กแบบไม่ยกร่อง หรือพืชที่มีระบบรากหนาแน่นและตื้น อาจจะหว่านปุ๋ยหลังการไถหรือพรวนดินก็ได้ หรือถ้าต้องการยกร่องปลูก ปุ๋ยจะถูกกลบคลุกเคล้ากับดินอยู่บนร่องปลูก ซึ่งอาจสรุปได้ว่าเป็นวิธีที่ใช้ได้ดีกับพืชหลายชนิด โดยเฉพาะพืชที่มีระบบรากตื้นมาก
การใส่แบบหว่าน ความเข้มข้นของปุ๋ยจะลดลงและปุ๋ยมีโอกาสทำปฏิกิริยากับดินได้มาก ทำให้สามารถใส่ปุ๋ยเป็นปริมาณมากในคราวเดียวกันได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อพืช

ข. การใส่แบบโรยเป็นแถบหรือใส่เป็นแนวและฝังกลบ (Band Placement, Banding)
เป็นวิธีการใส่พร้อมกับการปลูกพืช และมักเรียกปุ๋ยนี้ว่า ปุ๋ยเร่งต้นอ่อน (Starter) การใส่ปุ๋ยวิธีนี้จะช่วยให้พืชเจริญเติบโตเร็วในช่วงแรก ลดการถูกตรึงฟอสเฟตในดิน ซึ่งเป็นวิธีการรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินรอบ ๆ บริเวณรากพืช พืชหลายชนิดจะตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยวิธีนี้
ปุ๋ยอาจใส่ในร่องใต้เมล็ดพืช หรือในร่องตามแนวขนานกับแถวปลูกพืชและควรใส่ใต้ผิวดิน ประมาณ 2-4 นิ้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของดินและพืชที่ปลูก การใส่ปุ๋ยใกล้เมล็ดพืชมากเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อรากของต้นอ่อนได้
วิธีการนี้เป็นการลดปฏิกิริยาระหว่างเม็ดปุ๋ยกับดินให้เหลือน้อยที่สุด เหมาะกับปุ๋ยเคมีพวกฟอสเฟต เพราะจะช่วยลดปริมาณการตรึงฟอสเฟตของดิน และช่วยให้การชะล้างปุ๋ยจากหน้าดินเกิดขึ้นน้อย ทำให้การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ปัจจุบันนี้มีวิธีการใส่ปุ๋ยแบบโรยเป็นแถบแต่อาจแรกอีกชื่อหนึ่งว่า “ป๊อป-อั๊พ” (Pop-up) หมายถึงการใช้ปุ๋ยในปริมาณน้อยผสมรวมไปกับเมล็ดพืชในขณะปลูก หลังจากเมล็ดงอกก็สามารถใช้ปุ๋ยได้ทันที

ค. การใส่แบบโรยข้างแถว (Side Dressing)
เป็นวิธีการใส่ปุ๋ยไว้ข้างแถวพืชที่ปลูกนิยมใส่เมื่อพืชงอกแล้วและโตเป็นกล้า อายุประมาณ 2-4 สัปดาห์ หรือหลังจากการดายหญ้าเพื่อกำจัดวัชพืชแล้ว อาจใส่หลายครั้งก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของพืช วิธีการให้น้ำและชนิดของดิน ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ การแบ่งใส่ปุ๋ยหลายครั้งจะให้ผลดีกว่าใส่ครั้งเดียวโดยวิธีหว่านหรือโรยเป็นแถบ ถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง-ค่อนข้างต่ำ การใส่ปุ๋ยแบบโรยเป็นแถบพร้อมปลูกร่วมกับการใส่แบบโรยข้างแถวอีก 1-2 ครั้ง ก็จะได้ผลคุ้มค่าเช่นกัน
สำหรับฟอสเฟตและโพแทสเซียมต้องใส่ให้ใกล้แถวพืชที่ปลูก เพื่อรากพืชจะได้งอกถึงและนำปุ๋ยไปใช้ ปุ๋ยไนโตรเจนไม่จำเป็นใกล้ต้นพืชเกินไป เนื่องจากสามารถละลายน้ำได้ดี จึงเคลื่อนที่ไปตามความชื้นในดินเข้าสู่รากพืชได้ นอกจากนี้การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนใกล้เกินไปอาจเป็นอันตรายต่อรากพืชได้โดยเฉพาะแม่ปุ๋ยแอมโมเนียม ส่วนแม่ปุ๋ยไนเตรท ควรใช้กับพืชที่มีระบบรากตื้นและควรใส่ให้ลึกลงไปในดินข้าง ๆ รากพืชที่มีระยะห่างพอสมควร เพื่อป้องกันการสูญเสียที่เกิดจากการชะล้างหรือถูกพัดพาไปโดยน้ำได้ง่าย

ง. การใส่แบบโรยเหนือต้นพืช (Top Dressed)
เป็นวิธีการใส่ปุ๋ยบนผิวดิน ในขณะที่พืชงอกแล้วและกำลังเจริญเติบโต เป็นการใส่ปุ๋ยแบบหว่านใช้กับธัญพืชเมล็ดเล็ก เช่น ข้าวและพืชทุ่งหญ้าอาหารสัตว์ ฝ้าย ถั่วลิสง ฯลฯ ในต่างประเทศนิยมใช้แทรกเตอร์ในการหว่านปุ๋ย หรือใช้เครื่องบินในการให้ปุ๋ยในนาข้าว การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสำหรับพืชไร่บางชนิดอาจใส่ครึ่งหนึ่งพร้อมปลูกโดยโรยเป็นแถบและอีกครึ่งหนึ่งใส่แบบโรยเหนือต้นพืช

จ. การให้ปุ๋ยทางใบ (Foliar Application)
การให้ปุ๋ยทางใบเป็นวิธีการให้ธาตุอาหารแก่พืชทางส่วนเหนือดินของพืช นิยมใช้ในกรณีที่ต้องการให้พืชตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยทันที และในกรณีที่การใส่ปุ๋ยทางดินไม่ได้ผล ปุ๋ยที่เคยให้ทางใบให้ผลกับพืชหลายชนิดแล้ว ได้แก่ ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสเฟต โพแทช แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน แมงกานีส ทองแดง โบรอน โมลิบดีนัม เหล็ก และสังกะสี
ปุ๋ยที่ใช้อาจอยู่ในรูปเป็นผง หรือในรูปสารละลาย แต่ในรูปสารละลายจะให้ผลดีกว่า การให้ปุ๋ยทางใบสามารถให้ได้ตลอดอายุพืช โดยเฉพาะในพืชที่เริ่มแสดงอาการขาดธาตุอาหารก่อนออกดอกหรือก่อนการเกิดเมล็ด สำหรับไม้ผลต่าง ๆ รวมทั้งองุ่น นิยมให้ก่อนแตกใบอ่อน พืชจะตอบสนองต่อการให้ปุ๋ยในตอนเช้าดีกว่าในช่วงอื่นของวัน ความเข้มข้นของปุ๋ยที่ใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของปุ๋ยและพืช โดยทั่วไปความเข้มข้นจะอยู่ระหว่าง 1-2 เปอร์เซ็นต์ และในกรณีที่เป็นปุ๋ยยูเรียไม่ควรมี ไบยูเรท (Biuret) เกิน 0.25 % ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อใบพืชและต้นกล้าอ่อน
เครื่องฉีดอาจใช้เครื่องพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทั่วไปได้ (เครื่องพ่นแรงอัดต่ำ) แต่นิยมใช้ทั่วไป เป็นเครื่องพ่นชนิดแรงอัดสูงและใช้น้ำน้อย ซึ่งจะให้ความสม่ำเสมอ ปุ๋ยที่ใช้ทั้งหมดจะเกาะอยู่ตามส่วนเหนือดินของพืช ข้อสำคัญในการใช้คือต้องคอยปรับหัวฉีด และเพิ่มแรงอัดเพื่อให้สารละลายที่พ่นออกมามีลักษณะเป็นฝอยขนาดเล็กซึ่งจะทำให้การตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยเพิ่มขึ้น
การให้ปุ๋ยทางใบโดยอาศัยระบบการให้น้ำชลประทานแบบฝนเทียม (Overhead Sprinkler system) ต้องใส่ปุ๋ยในรูปสารละลายในช่วงก่อนปิดเครื่องเพื่อให้ปุ๋ยจับติดที่ใบพืชและป้องกันการชะล้างจากน้ำความเข้มข้นของปุ๋ยต้องให้น้อยกว่าการให้ทางดินและต้องระวังเศษผงและวัสดุใช้เคลือบปุ๋ย ซึ่งอาจทำให้หัวฉีดอุดตันได้ ซึ่งรวมทั้งหัวฉีดที่ใช้กับเครื่องพ่นชนิดอื่นด้วย
การให้ปุ๋ยทางใบอาจให้ทางเครื่องบิน ในกรณีที่ไม่สามารถใช้เครื่องจักรทางพื้นดินหรือต้องใส่ในพื้นที่กว้างและให้เสร็จทันเวลาที่จำกัดเคยใช้ได้ผลกับข้าวฟ่าง-ข้าวโพดและธัญพืชเมล็ดเล็กรวมทั้งในนาข้าว

ฉ. การให้ปุ๋ยพร้อมกับการให้น้ำ (Water-Run Application)
การให้ปุ๋ยพร้อมกับการให้น้ำ จะมีประสิทธิภาพต่ำกว่าวิธีการใส่ปุ๋ยวิธีอื่น อย่างไรก็ตามถ้าพืชให้ผลผลิตคุ้มค่า ทำให้ประหยัดเวลา แรงงาน ลดค่าเครื่องจักร และเชื้อเพลิงแล้ว ก็สมควรใช้ได้ การให้ปุ๋ยอาจให้ก่อนการปลูกพืช หรือหลังพืชงอกแล้วก็ได้ ใช้ได้ทั้งปุ๋ยในรูปสารละลายหรือในรูปของแข็ง ส่วนมากนิยมใช้แต่ปุ๋ยไนโตรเจน ปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารที่เคลื่อนตัวได้น้อยในดิน เช่น ฟอสเฟต และโพแทช ก็เคยให้ได้ผลมาแล้วกับพืชผักต่าง ๆ ธัญพืชเมล็ดเล็ก พืชอาหารสัตว์และทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์
ปุ๋ยในรูปของแข็งควรละลายในน้ำก่อนนำไปผสมลงในน้ำชลประทาน โดยเฉพาะการให้น้ำแบบฝนเทียม (Sprinkler system) และควรระวังการใช้ปุ๋ยเม็ดที่มีสารเคลือบปุ๋ยซึ่งอาจทำให้หัวฉีดอุดตันได้ ปุ๋ยในรูปของแข็งสามารถให้โดยตรงกับการให้น้ำแบบร่องได้ แต่เครื่องควบคุมการให้ปุ๋ยจะทำให้ไม่สะดวกในการใช้ สำหรับปุ๋ยในรูปของสารละลายสามารถใช้กับระบบการให้น้ำชลประทานได้โดยทั่วไป ยกเว้นแอมโมเนียมเหลว และสารละลายแอมโมเนียมรวมทั้งสารละลายที่จะให้แอมโมเนียมผสมอยู่ด้วยไม่ควรใช้กับการให้น้ำแบบฝนเทียม
ไม่ว่าจะใช้ระบบการให้น้ำแบบไหน ปุ๋ยที่ใช้ต้องผ่านเครื่องควบคุมการให้ปุ๋ยก่อนผสมลงในน้ำชลประทาน เพื่อให้การกระจายของปุ๋ยเป็นไปอย่างทั่วถึง วิธีคำนวณปริมาณปุ๋ยที่จะใช้และการควบคุมเครื่องก็ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิต ดังนั้นควรทำความคุ้นเคยให้ดีก่อนนำออกใช้
ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการผสมปุ๋ยลงในน้ำชลประทานคือ ช่วงกึ่งกลางระหว่างกำลังให้น้ำ ไม่ควรผสมปุ๋ยลงในน้ำขณะเพิ่งให้น้ำ และปุ๋ยที่ใช้ควรให้หมดก่อนให้น้ำจะสิ้นสุดเล็กน้อย เพื่อป้องกันการชะล้างปุ๋ยก่อนออกไปจากบริเวณรากพืชหรือตกค้างอยู่บนผิวดิน ซึ่งพืชไม่สามารถนำไปใช้ได้
ช. การใส่ปุ๋ยวิธีอื่น (Miscellaneous Practices)
นอกจากนี้ยังมีวิธีการใส่ปุ๋ยแบบอื่นอีก เช่น การใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมเหลว โดยวิธีอัดปุ๋ยลงไปในดินด้วยเครื่องอัดปุ๋ยซึ่งทำขึ้นมาโดยเฉพาะ การใส่ปุ๋ยเป็นหลุมรอบต้นไม้ผล หรือทำร่องรอบโคนต้นบริเวณทรงพุ่ม ฯลฯ แต่หลักการใส่ก็อยู่ในหลักการตามที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น